30 มิถุนายน 2551

ส่งข้อมูล VB.NET

ความรู้เบื้องต้นในการใช้งานและสภาพแวดล้อมของ Visual Studio .NET
หลังจาก install เสร็จแล้ว เมื่อเปิดโปรแกรม Microsoft Visual Studio .NET (ต่อไปนี้จะเรียกสั้นๆว่า .net) ขึ้นมา ในครั้งแรกจะพบกับหน้า Start Page โดยจะมีส่วนที่สำคัญคือ Get Started ซึ่งจะช่วยให้เปิดโปรเจคเก่าและใหม่ได้เร็วขึ้น
การเปิดโปรเจคใหม่ทำได้สองวิธี
1. เลือก menu filee newe project
2. กดที่ปุ่ม New ในหน้าจอ Get Started
หน้าจอ New Project ที่ Location ควรจะสร้างโฟล์เดอร์ขึ้นมา และตั้งชื่อโปรเจกให้สื่อความหมาย
จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการสร้างโฟล์เดอร์ขึ้นมาตามชื่อ Location และมีจำนวนไฟล์มากมายที่เกิดขึ้น แต่ไฟล์ที่สำคัญ ที่ใช้เปิดโปรเจ็คในครั้งต่อไปคือไฟล์เป็นชื่อโปรเจคที่มีนามสกุล .sln ชนิดของโปรเจกที่สำคัญมี 3 รูปแบบ
1. Windows Application สร้างโปรแกรมเพื่อทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows
2. ASP.NET Web Application สร้างโปรแกรมเพื่อทำงานบนInternet
3. ASP.NET Web Service สร้างหน้าจอกับส่วนของลอจิกแยกจากกัน และทำงานผ่าน Internet
ToolBar ใน.NET ที่สำคัญที่สุดคือ Standard Toolbar การปิดเปิด Toolbar ให้คลิกขวาตรงToolbar และเลือก Toolbarที่ต้องการ
การเซตสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
1. เซตShort cut key
2. ลักษณะหน้าต่างของ Form Editor
3. การเซตตัวอักษร
Menu Toolse ไปที่ Optionse ไปที่ Enviromente
1. การเซตshort cut key
Keyboard เลือกตรงบริเวณ Keyboard mapping scheme เป็น Visual Basic 6
2. การเซตลักษณะหน้าต่างของ Form Editor
General ตรงบริเวณ Setting เลือก Tabbed documents หรือ MDI environment
3.การเซตตัวอักษร Fonts and Colors เลือกฟอนต์ที่แสดงผลภาษาไทยได้และมีการเว้นบรรทัดไม่มาก เช่น Microsoft Sans Serif หรือ MS Sans Serif ขนาด 10
แนะนำหน้าต่าง(Windows Tool)
1. Solution Explorer บางครั้งเรียกสั้นๆว่า Explorer
2. Toolbox
3. Form Editor
4. Properties
5. Code Editor

2. Toolbox จะขยายออกมาให้เลือกรายการ เมื่อนำเมาส์เลื่อนไปตรงแถบของ Toolbox จากนั้นจะเลื่อนกลับ สภาพเดิมเมื่อเมาส์เลื่อนจากไป ตรงหัวด้านบนของ Toolbox สามารถที่จะใช้หมุดปักให้อยู่นิ่งได้
3. Form Editor มี 2 รูปแบบ Tabbed documents และ MDI environment
Menu Tools==>Options==>Environment==>General==>ตรงบริเวณ Settings
การสลับไปมา 2 โหมดนี้จะต้องทำการปิดและเปิดโปรแกรม .net ใหม่ ตรงบริเวณ Form Editor ในเวอร์ชัน .net นี้มีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใหม่คือ มีลักษณะที่แต่ละฟอร์มที่เปิดมาจะเป็น tab เพื่อแยกแยะในแต่ละหน้าต่าง เราเรียกลักษณะนี้ว่า Tabbed documents ก็จะทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถเปิดหน้าต่าง Form แต่ละตัวขึ้นมาทำงานและสลับไปมาได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียของลักษณะนี้คือระบบจะทำงานช้า เพราะกินทรัพยากรของเครื่องค่อนข้างสูง ดังนั้นขอแนะนำว่าถ้าเครื่องทำงานช้าให้กลับไปใช้ MDI environment
แป้นลัดที่ควรจดจำ Short cut key
VB.NET มีshort cut key อยู่หลายกลุ่ม ทั้งนี้เพราะ IDE ตัวนี้พัฒนาได้หลายภาษา Microsoft จึงจัดกลุ่ม short cut key ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ทั้ง short cut key ของ .NET เอง และ short cut key ของแต่ละภาษาโปรแกรมในที่นี้อยากจะแนะนำให้ใช้ short cut key ของ Visual Basic เดิม
Short Cut Key ที่ต้องจดจำและใช้บ่อยๆมีดังนี้
**เกี่ยวกับการหน้าต่าง**
1. ctrl+r เปิดหน้าต่าง Explorer (แต่เมื่ออยู่ที่ หน้าต่าง Code Editor จะใช้short cut key นี้ไม่ได้)
2. F7 เปิด Code Editor
3. shift+F7 เปิดหน้าต่าง Form Editor
4. F4 เปิดหน้าต่าง property
5. ctrl+alt+x เปิดหน้าต่าง Toolbox (เป็น short cut ที่ไม่เคยมีใน VB 6.0)
**เกี่ยวกับการเขียนโค้ด**
1. ctrl+y ลบบรรทัดทิ้ง
2. ctrl+spacebar เรียกคำสั่งหรืออ็อปเจ็คที่ใกล้เคียงมาให้เลือก
3. F5 สั่งทำงาน
วัตถุ(Objects) แบ่งเป็น
1. Form หน้าจอของโปรแกรมที่แสดงในลักษณะของหน้าต่าง
2. Control ส่วนประกอบของหน้าจอที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้
เช่น Button, TextBox, Label และอื่นๆ
วัตถุ(Objects) จะต้องมี
1. Property คุณสมบัติ คุณลักษณะต่างๆ เช่น Name, Text, Backcolor, Forecolor
2. Event เหตุการณ์ที่ตัววัตถุจะรับรู้ได้ เช่น Click
3. Method พฤติกรรมที่วัตถุจะแสดงออกมาได้ เช่น Focus, Dispose
คุณสมบัติ(Property)พื้นฐานมีดังนี้
1. Name ชื่อของวัตถุ VB จะตั้งชื่อให้วัตถุในตอนเริ่มต้น โดยใช้ชื่อคอนโทรลตามด้วยตัวเลข
2. Text ข้อความที่ปรากฏในคอนโทรล
3. Backcolor สีพื้น
4. Forecolor มักจะหมายถึงสีของข้อความบนคอนโทรล
5. Cursor รูปแบบเคอร์เซอร์ เมื่อนำเมาส์เคลื่อนที่อยู่เหนือคอนโทรลจะเปลี่ยนรูปไปตามที่เลือก
6. Enabled สั่งให้คอนโทรลทำงานได้หรือไม่ได้
7. Font รูปแบบของตัวอักษรที่ปรากฏบนคอนโทรล
8. Location ตำแหน่งการวางคอนโทรลประกอบด้วยแนว x และ y
9. Locked ถ้าถูกเลือกให้เป็น true คอนโทรลจะเคลื่อนไม่ได้ในตอนdesign
10. Size ขนาดของคอนโทรล ประกอบด้วย width และ length
11. Visible การมองเห็นคอนโทรล
คุณสมบัติบางอย่างเมื่อเซตจะเห็นผลทันทีเช่น Text, Backcolor แต่บางอย่างจะต้องสั่งทำงานจึงจะเห็น เช่น Enabled, Visible
ลักษณะของหน้าต่าง Code Editor
1. ส่วนเลือกวัตถุ เรียกว่า class name
2. ส่วนเลือกเหตุการณ์ เรียกว่า method name
เลือกเหตุการณ์
ให้กับวัตถุส่วนเลือกเหตุการณ์ เรียกว่า method name
-เลือกวัตถุที่ต้องการ
-รับเหตุการณ์
เมื่อต้องการเขียนโค้ดจะต้องนึกก่อนเสมอว่าจะใช้เหตุการณ์บนวัตถุตัวใด และเลือกจากส่วน class name และ method name ห้ามทำการพิมพ์ขึ้นมาเอง เพราะจะผิดพลาดได้ง่ายและผิดหลักการการเขียนโปรแกรม
ส่วนประกอบของ Visual Basic.NET
ใน VB.NET มีชนิดของโปรเจ็กต์ดังต่อไปนี้
1. Windows Application ใช้พัฒนา Windows Application เราจะสร้างแอพพลิเคชั่นประเภทนี้ด้วยฟอร์มและคอรโทรล
2. Class Library ใช้พัฒนา Library ไว้ใช้งาน เป็นชนิดของโปรเจ็กต์ที่ให้เราสร้างคลาสที่จะใช้ในแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้
3. Windows Control Library เป็นชนิดของโปรเจ็กต์ ซึ่งจะทำให้เราสร้างคอนโทรลใหม่ขึ้นมาได้ นอกเหนือจากคอนโทรลพื้นฐานที่ VB.NET ได้เตรียมไว้ให้
4. Mobile Web Application ใช้พัฒนา Application บน Mobile Device (ต้องติดตั้ง Mobile Toolkit เพิ่มเติมจึงจะมี Project นี้)
5. ASP.NET Web Application I ใช้พัฒนา Web Application หรือ Web Form โดยใช้ ASP.NET
6. ASP.NET Web Service ใช้พัฒนา Web Service ที่สามารถถูกเรียกใช้งานได้จากแอพพลิเคชั่นอื่นบนอินเตอร์เน็ต เช่นจาก ASP.NET
7. Web Control Library ใช้พัฒนา Web Control ไว้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้เราสร้างคอนโทรลใหม่นอกเหนือจากคอนโทรลที่ VB.NET เตรียมไว้ให้ เพื่อใช้กับแอพพลิเคชั่น ASP.NET ได้
8. Console Application ใช้พัฒนา Console Application (Command Line) แอพพลิเคชั่นประเภทนี้จะต้องรันในแบบ command - line ซึ่งจะรับอินพุตจากคำสั่งที่เราพิมพ์ลงไป และแสดงผลลัพธ์ออกมาในหน้าต่าง Command Prompt
9. Windows Service ใช้พัฒนา Windows Service
10. Empty Project สร้าง Project ว่างๆ
11. Empty Web Project สร้าง Web Project ว่างๆ
12. New Project in Existing Folder เป็น Project ใหม่ จาก Folder ที่มีอยู่แล้ว
เมนูบาร์ : เก็บคำสั่งที่เราสามารถใช้งานได้ทั้งหมดใน VB.NET ประกอบไปด้วยเมนูทำงานกับ File, View และ Windows เป็นต้น
ทูลบอกซ์ : เป็นที่แสดงเครื่องมือต่างๆ ที่เราเรียกว่า คอนโทรล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เราสามารถเลือกไปวางลงบนฟอร์มได้ เพื่อออกแบบหน้าจอของโปรแกรม

แบบฝึกหัด
1. ASP.NET Web Application สร้างโปรแกรมเพื่อทำงานบนอะไร

ก.Internet
ข.Network
ค.Eternet
ง.Application
2.. Solution Explorer บางครั้งเรียกสั้นๆว่าอะไร
ก. Code
ข. Explorer
ค. IDcode
ง. Form
3.Form Editorมี 2 รูปแบบคือ
ก. Form application และ MDI documents
ข. Tavved docments และ Form application
ค. MDI environment และ Tevved application
ง.Tabbed documents และ MDI environment
4.ctrl+r เปิดหน้าต่างอะไร
ก.Explorer
ข.Internet
ค.Windows
ง.Application
5. shift+F7 เปิดหน้าต่าง อะไร
ก. Form Edition
ข. Form Editor
ค. Form Application
ง. property
เฉลยแบบฝึกหัด
1. ก
2. ข
3. ง
4. ก
5. ข

20 มิถุนายน 2551

ระบบเครือข่าย ATM และแบบฝึกหัด 5 ข้อ

มารูจักกับระบบเครือข่าย ATM
ATM คืออะไร
ATM ในด้านโทรคมนาคมมาจากคำว่า Asynchronous Transfer Mode เป็นเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยการจัดการด้านการขนส่ง (transport), สวิทชิ่ง , เครือข่าย , และบริการลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนี้มีมาตั้งแต่เริ่มต้นของ ATM
ATM เป็นเทคโนโลยี " การถ่ายทอดเซล " หรือ " cell relay" technology
ATM หมายถึง กราฟฟิกที่มีการขนส่งแพ็ก เกตที่มีความยาวคง ที่ขนาดเล็กซึ่งเรียกกันว่าเซลโดยมีขนาดเป็น 53 ไบต์ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนหัว หรือ header ขนาด 5 ไบต์ และส่วน ข้อมูลหรือ payload 48 ไบต์เซลที่มีความยาวคงที่มีข้อดี กว่าเทคโนโลยีแพ็กเกตสมัยก่อน
ข้อดีอันแรก คือ เซลขนาดสั้นสามารถจะสับเปลี่ยน ช่องทาง ( swihtced)โดยใช้ฮาร์ดแวร์ได้ จึงทำให้ ATM สามารถถูกสวิทช์ (สับเปลี่ยนช่องทาง) ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อดี ประการที่สอง คือ การหน่วงของการจัดคิว (queueing delays) ที่ยาว ( เกิดจากเฟรมที่มีขนาดแปรเปลี่ยนได้ ) สามารถจะลด wait time ลงได้ด้วยรูปแบบเซลขนาด 53 ไบต์ อันซึ่งจะทำให้สามารถขนส่ง voice และ video ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันแบบ realtime (time-dependant) ได้
รูปแบบการส่งข้อมูล ATM เป็นแบบ connection-oriented กล่าวคือจะมีการสร้าง connection จากต้นทางถึงปลายทางกำหนดเส้นทางที่แน่นอนก่อน แล้วจึงเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อมูลเสร็จก็ปิด connection เปรียบเทียบได้กับการโทรศัพท์ จะต้องมีการเริ่มยกหู กดเบอร์ และเมื่อมีคนรับก็ต้องสวัสดีแนะนำตัวกันก่อน แล้วจึงเริ่มการสนทนา เมื่อสนทนาเสร็จแล้วก็มีการกล่าวคำลกและวางหูเป็นการปิด connection ต่างจาก IP Network ในแบบก่อน ซึ่งจะ เป็นแค่การระบุจุดหมายปลายทางแล้วก็ส่งข้อมูลไปเท่านั้น การเลือกเส้นทางในแต่ ละครั้งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ระหว่างเส้นทางเดินว่าจะเลือกเส้นทางใด เหมือนกับการส่งจดหมายนั่นเอง เราเพียง ระบุจ่าหน้าแล้วก็หย่อนลงตู้ไปเท่านั้น ผู้ส่งไม่สามารถทราบได้ว่าจะไปถึงผู้ รับเส้นทางไหนและจะไปถึงเมื่อไร นอกจากนี้ ATM ยังมีลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ ATM จะมี QoS (Quality of Service) ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งข้อมูลในแต่ละ connection ได้ นั่นคือเมื่อมีการเริ่ม connection จะมีการตกลงระดับ QoS ที่ต้องการใช้ก่อน เพื่อให้ เราสามารถส่งข้อมูลโดยได้รับคุณภาพของการส่งตามที่กำหนดไว้นั่นเอง
เครือข่าย ATM เป็นระบบแบบสวิตซ์ กล่าวคือในเครือข่าย ATM นั้น แต่ละ connection สามารถส่งข้อมูลถึงกัน ได้ทันที ไม่ต้องรอให้อีกคนหนึ่งส่งเสร็จก่อน ถ้าพิจารณาทางแยกอันหนึ่งที่มีรถวิ่ง มาจากหลาย ๆ ทาง เราสามารถเปรียบเทียบเครือข่ายแบบสวิตซ์นี้ได้เสมือนเป็นทางต่างระดับ ซึ่งรถจากแต่ละทางสามารถวิ่งไปยังปลายทางของตนเองได้ทันทีโดยที่ไม่ต้อง รอกัน ซึ่งต่างจากระบบแบบ shared-bus ที่เปรียบเสมือนกับทางแยกธรรมดาซึ่งมีไฟแดงไฟเขียว รถที่แล่นมาจากแต่ละทางจะต้องรอให้ถึงสัญญาณไฟเขียวก่อน จึงจะวิ่งต่อไปได้ และไม่อาจวิ่งหลาย ๆ ทางพร้อม ๆ กันได้
1.Physical Layer (PHY) เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวนำสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณดิจิตอล นการ นำ ATM มาใช้ในเครือข่ายโทรคมนาคมนั้น จะนำมาใช้ร่วมกับ
SONET(Synchronous Optical Network) / SDH (Synchronous Digital Hierarchy) โดยมีเส้นใยแก้วนำแสงเป็นตัวนำสัญญาณ
2. Asynchronous Transfer Mode Layer (ATM) ทำหน้าที่สร้างส่วน header ของเซลล์ และประมวลผลส่วน header ของเซลล์ที่รับเข้ามา โดยอ่านค่า VCI/VPI ของเซลล์ และหาเส้นทางที่จะส่งเซลล์ออกไป แล้วจึงกำหนด VCI/VPI ใหม่ให้กับส่วน header ของเซลล์นั้น
3. ATM Adaptation Layer (AAL) ทำหน้าที่ปรับบริการที่ได้รับจากชั้น ATM ให้สอดคล้องกับความต้องการของโปรโตคอลและแอพพลิเคชั่น ในชั้น higher layer โดยแบ่งเป็น 5 ชนิดด้วยกันเพื่อใช้กับแอพพลิเคชั่นที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
AAL1 เป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งและรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่ (constant bit rate) โดยการจำลองวงจรการเชื่อมโยงระหว่างตัวรับตัวส่งข้อมูลที่ส่งมีลักษณะ เป็น stream เพื่อใช้กับแอพ - พลิเคชั่นที่มีการส่งสัญญาณแบบจุดไปจุดอย่างต่อเนื่อง
AAL2 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามที่ต้อง การ ( variable bit rate) โดยเน้นการใช้อัตราความเร็วตามที่ต้องการ จึงนำมาใช้กับการ รับส่งสัญญาณเสียงและภาพได้
AAL3/4 เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตาม ที่ต้องการ ( variable bit rate) เช่นเดียวกับ AAL2 แต่ต่างกันที่สามารถรับส่งข้อมูลแบบ asynchronous ได้ กล่าวคือเวลาในการส่งและรับข้อมูลไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน
AAL5 มีวิธีการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับ AAL3/4 ข้อแตกต่างกันคือสามารถใช้กับการสื่อสารข้อมูลซึ่งมีเชื่อมต่อแบบconnectionless ได้ และมีส่วน header ของ payload สั้นกว่า AAL3/4โปรโตคอลในชั้น AAL นี้จะควบคุมการติดต่อสื่อสารจากต้นทางถึงปลายทาง และจะถูก ประมวลผลโดยผู้ส่งและผู้รับข้อความ (message) เท่านั้น ชั้น AAL แบ่งออกเป็นชั้นย่อย 2 ชั้น คือ ชั้น Convergence Sublayer (CS) ช่วยในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ( interface) ที่ไม่ใช่ ATM เข้ากับ ATM และชั้น Segmentation and Reassembly Sublayer (SAR) ทำหน้าที่ตัดข้อความที่โปรโตคอลหรือแอพพลิเคชั่นต้องการส่งออกเป็น ส่วนย่อยๆ เพื่อนำไปสร้างเซลล์หรือนำส่วนข้อมูล (information) จาก payload ของเซลล์มาต่อกันเป็นข้อความ
ข้อดีของการใช้ ATM สามารถจำแนกได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1.ATM ถูกพัฒนาให้เป็นมาตรฐานกลางของการสื่อสารทั่วโลก อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงาน ร่วมกันได้ถึงแม้จะต่างชนิดกัน โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อหนึ่งยี่ห้อใด กล่าวคือ เป็นมาตรฐานกลางที่ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน
2. ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูล สำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ ( LAN : Local Area Network) และ ระยะไกล ( Wide Area Network : WAN) แต่เดิมนั้นรูปแบบของการส่งข้อมูลใน LAN และ WAN จะแตกต่างกัน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมต่อและบริหารเครือข่าย แต่ ATM จะผนวกทั้ง LAN และ WAN เข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีมาตรฐานเดียว
3.ATM ถูกพัฒนาให้ใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบ แต่เดิมนั้นข้อมูลแต่ละรูปแบบไดเแก่ สัญญาณเสียง ( voice) ข้อมูล ( data) และภาพเคลื่อนไหว (video) ต่างก็มีเครือข่ายของตนเอง โดยสัญญาณเสียงที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์จะมีลักษณะที่มีอัตราการส่งข้อมูลคง ที่เท่า ๆ กันตลอดเวลา ข้อมูลเสียงอาจยอมให้มีการสูญเสีย (error) ได้บ้าง แต่จะต้อง ให้มีการหน่วงเวลา (delay) น้อยที่สุด ส่วนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ( data) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะมีอัตราการส่งข้อมูลไม่คงที่ มีลักษณะเป็น bursty คือ บางเวลาจะมีข้อัมูลมากเป็นกลุ่มก้อน แต่บางเวลาก์ไม่มีข้อมูลเข้ามาเลย ลักษณะนี้เรายอมให้มีการหน่วงเวลาได้บ้าง แต่จะให้มีการสูญเสีย ( error) ให้น้อย ที่สุด จะเห็นว่าข้อมูลต่างลักษณะกัน ต้องการคุณภาพในกรส่งที่ต่างประเด็นกัน สำหรับ ATM เราไม่จำเป็นต้องแยกเครือข่ายสำหรับข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากมันถูกออก แบบมาเพื่อใช้กับข้อมูลทุกรูปแบบทั้งเสียง (voice), ข้อมูล ( data) และ วิดีโอ ( video) นั่นเอง
4. ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1 Mbps ( เมกะบิตต่อวินาที = 1 ล้านบิตต่อวินาที) ไปจนถึง Gbps ( กิกะบิตต่อวินาที = 1 พันล้านบิตต่อวินาที)
5. ATM สามารถส่งข้อมูลโดยมีการรับประกันคุณภาพการส่ง (Quality of Service) ทาให้สามารถเลือกคุณภาพตามระดับที่เหมาะสมกับความสำคัญและรูปแบบของข้อมูล โดยเราสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัตินี้กับการส่งจดหมายที่เราสามารถเลือกว่าจะส่ง แบบธรรมดา , ด่วนพิเศษ ( EMS ) หรือ ลงทะเบียนป้องกันการสูญหาย เป็นต้น
เครือข่าย ATM
เครือข่าย ATM จะช่วยให้ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีความ เร็วในการ สวิตซ์ข้อมูลสูงมากนั่นเอง ลักษณะของเครือข่าย ATM ก็จะเป็นสายไฟเบอร์ ( Fiber Optic Cable) หรือสาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งส่งข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 155 Mbps ขึ้นไป และ จะมีอุปกรณ์ปลายทางซึ่งอาจเป็น PC ธรรมดาที่มี ATM Interface Card หรือเป็น Edge switch คือประกอบด้วย ATM Interface หรือ Ethernet Interface เพื่อเชื่อมต่อไปยัง PC ซึ่งมี Ethernet Card อีกทีนั่นเอง หรือ อาจเป็นอุปกรณ์ทางการสื่อสาร เช่น ตู้สายโทรศัพท์ PABX ซึ่งมี ATM Interface หรือระบบ Video Conference ก็ได้ กล่าวคือ อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์เกือบทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อกับ ATM Network และใช้ประ โยชน์จากเครือข่ายความเร็วสูงนี้ได้ถ้ามี ATM Interface ที่ตรงตามมาตรฐานนั่นเอง .แต่เนื่องจาก ATM ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อเข้ากับสวิตซ์ ATM และส่งข้อมูลโดยใช้ ATM โดยตรงเลยนั้นจึงยังมีไม่มากนักและมีราคาแพงอยู่ จึง ได้มีการคิดค้นระบบ IP over ATM และ LAN Emulation ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ บนเครือข่ายเดิมซึ่งใช้แอพพลิเคชันบน IP และ Ethernet ธรรมดาบนเครือข่าย ATM ได้ หรือเป็นการจำลองเครือข่าย IP และ Ethernet ขึ้นบนเครือข่าย ATM นั่นเอง

รู้จักกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ ATM
ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กำลังเป็นเทคโนโลยีที่มีผู้กล่าวถึงและให้ความสนใจกันมากในขณะนี้อีกระบบหนึ่งคือ ATM ATM ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ไม่ใช่ระบบการเบิกถอนเงินสด ATM มาจากคำย่อของ Asynchronous Transfer Mode ATM เป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ใช้รูปแบบการสื่อสารเป็นแบบ แพ็กเก็จ เหมือนเช่นในเครือข่าย X.25 หรือระบบ LAN อื่น ๆ เช่น อีเทอร์เน็ตโทเกินริง แต่การสื่อสารเป็นแบบอะซิงโครนัสกล่าวคือ ตัวรับและตัวส่งใช้สัญญาณนาฬิกาแยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน สิ่งที่ ATM แตกต่างจากระบบ แพ็กเก็จสวิตชิ่งอื่น ๆ คือ ATM ส่งข้อมูลด้วยขนาดของแพ็กเก็จที่ทุกแพ็กเก็จมีจำนวนข้อมูลเท่ากันเสมอ แพ็กเก็จของ ATM มีขนาด 53 ไบต์ โดยให้ 5 ไบต์แรกเป็นส่วนหัวที่จะบอกรายละเอียดของแอดเดรสและมีส่วนข้อมูลข่าวสารอีก 48 ไบต์ตามมา เราเรียกแพ็กเก็จของ ATM ว่า " เซล " การออกแบบให้เซลข้อมูลมีขนาดสั้นก็เพื่อความเหมาะสมที่จะประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้นคือ ใช้รับส่งข้อมูล เสียง ภาพหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการส่งผ่านกันและกันด้วยความเร็วสูงการรับส่งสัญญาณ ATM จึงใช้ช่องสื่อสารที่มีความเร็วต่าง ๆ ได้ซึ่งผิดกับ LAN เช่น อีเทอร์เน็ต ใช้ความเร็ว 10 Mbps หรือโทเกนริงใช้ 16 Mbps แต่ ATM ใช้กับความเร็วได้ตั้งแต่ 64 Kbps, 45 Mbps, 155 Mbps, 622 Mbps หรือ สูงกว่าก็ได้ เครือข่าย ATM เป็นเครือข่ายที่ประยุกต์ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบ LAN หรือ WAN ใช้กับตัวกลางได้ทั้งแบบลวดทองแดงหรือเส้นใยแสง แต่โครงสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโหนดเป็นแบบสวิตซ์ที่เรียกว่า ATM Switch การส่งผ่านข้อมูลแต่ละเซลจึงขึ้นกับแอดเดรสที่กำหนด ( รูปที่ 1 ) จากโครงสร้างการผ่านข้อมูลแบบสวิตซ์ด้วยเซลข้อมูลขนาดเล็กของ ATM จึงทำให้เหมาะกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ WAN ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องการใช้ความเร็วข้อมูลสูง เครือข่าย WAN ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้เทคนิคของ ATM ได้เช่นกัน ( รูปที่ 2 ) งานประยุกต์ที่กำลังกล่าวถึงกันมากอย่างหนึ่งคือ ระบบหลายสื่อ หรือที่เรียกว่า Multi-Media ระบบการประยุกต์นี้ประกอบด้วย การประมวลผล และส่งข้อมูล ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง ข้อมูลตัวอักษร ฯลฯ ระบบ ATM จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะทำให้ระบบหลายสื่อประสบความสำเร็จในการใช้งานต่อไปในอนาคต
ATM ..เป็นเทคโนโลยีบนพื้นฐานของแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง และการมัลติเพล็กซ์แบบ Statistical Time Division (STDM) โดยข้อมูลที่ส่งจากต้นทาง ( รวมทั้งภาพและเสียง) จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ขนาดคงที่ เรียกว่า เซลล์ ( Cell) ในแต่ละเซลล์มีขนาดเท่ากับ 53 ไบต์ แบ่งเป็นส่วน payload ที่ใช้บรรจุข้อมูล (Information) ขนาด 48 ไบต์ และส่วน header ที่ใช้บรรจุข้อมูลในการควบคุมการส่งขนาด 5 ไบต์ ในส่วน header นี้จะประกอบด้วย VPI (Virtual Path Identifier) และ VCI (Virtual Circuit Identifier) ทำหน้าที่กำหนดวงจรเสมือน ( virtual circuit) ในการเดินทางให้กับเซลล์นั้น และ Header Error Check ทำหน้าที่ตรวจสอบเซลล์ header ที่ไม่ถูกต้อง สวิตซ์ ATM จะทำหน้าที่ในการมัลติเพลกซ์ และจัดการส่งข้อมูลนั้นตามที่กำหนดไว้ในส่วน header ไปสู่ปลายทาง
แบบฝึกหัดจงตอบคำถามดังต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.ATM คืออะไร
2.ATM หมายถึง อะไร
3.ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูล แบบไหน
4.ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วเท่าไร
5.ATM Adaptation Layer (AAL) ทำหน้าที่อะไร
6.ATM ในด้านโทรคมนาคมมาจากคำว่า อะไร
7.รูปแบบการส่งข้อมูล ATM เป็นแบบ อะไร
เฉลยแบบฝึกหัด
1.ตอบ ATMมาจากคำว่า Asynchronous Transfer Mode เป็นเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยการจัดการด้านการขนส่ง (transport), สวิทชิ่ง , เครือข่าย , และบริการลูกค้า ATM เป็นเทคโนโลยี " การถ่ายทอดเซล " หรือ " cell relay" technology
2.ตอบ ATM หมายถึง กราฟฟิกที่มีการขนส่งแพ็ก เกตที่มีความยาวคง ที่ขนาดเล็กซึ่งเรียกกันว่าเซลโดยมีขนาดเป็น 53 ไบต์ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนหัว หรือ header ขนาด 5 ไบต์ และส่วน ข้อมูลหรือ payload 48 ไบต์เซลที่มีความยาวคงที่
3.ตอบ ATM ถูกพัฒนาเพื่อการส่งข้อมูล สำหรับทั้งเครือข่ายภายในระยะใกล้ ( LAN : Local Area Network) และ ระยะไกล ( Wide Area Network : WAN) แต่เดิมนั้นรูปแบบของการส่งข้อมูลใน LAN และ WAN จะแตกต่างกัน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการเชื่อมต่อและบริหารเครือข่าย แต่ ATM จะผนวกทั้ง LAN และ WAN เข้าเป็นเครือข่ายใหญ่ที่มีมาตรฐานเดียว
4.ตอบ ATM สามารถใช้ได้ที่ความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1 Mbps ( เมกะบิตต่อวินาที = 1 ล้านบิตต่อวินาที) ไปจนถึง Gbps ( กิกะบิตต่อวินาที = 1 พันล้านบิตต่อวินาที)
5.ตอบ ทำหน้าที่ปรับบริการที่ได้รับจากชั้น ATM ให้สอดคล้องกับความต้องการของโปรโตคอลและแอพพลิเคชั่น ในชั้น higher layer
6.ตอบ มาจากคำว่า Asynchronous Transfer Mode เป็นเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยการจัดการด้านการขนส่ง (transport), สวิทชิ่ง ,เครือข่าย, และบริการลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนี้มีมาตั้งแต่เริ่มต้นของ ATM
7.ตอบ เป็นแบบ connectionoriented กล่าวคือจะมีการสร้าง connection จากต้นทางถึงปลายทาง กำหนดเส้นทางที่แน่นอนก่อน แล้วจึงเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อมูลเสร็จก็ปิด connection เปรียบเทียบได้กับการโทรศัพท์

: Leaky Bucket
1.ATM Cell arrival erery 1,2,3,6,7,9
Find ATM Cell Delay
2.MBS=6
Find Cell errer

14 มิถุนายน 2551

เรียน MIS วันอาทิตย์ ที่ 15 มิถุนายน 51

MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การมาเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อให้ผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของเขาให้มีประสิทธิภาพ ถ้าพิจารณาในรายละเอียดหรือตามสภาพแวดล้อมเป็นจริงขององค์กร การที่ธุรกิจจะได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติของแต่ละส่วนย่อยๆ ในระบบแตกกระจายออกไป เพื่อรับผิดชอบการทำงานเฉพาะในแต่หน้าที่ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ซึ่งเราสามารถกล่าวว่า กลุ่มของระบบสานสนเทศย่อยๆ ที่แตกกระจายออกไปรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่คือระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS subsystems )

TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบโดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกวารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต

DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง ( semi-structure ) และไม่มีโรงสร้าง ( nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแผนทางรองรับ หรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ปัจจุบัน DSS ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์การ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่ายและเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร

EIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับ ผู้บริหารเนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันให้ ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรทางการจัดการระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผู้บริหารหลายคนยังมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำกัด โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอายุมากและไม่มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการใช้งานสารสนเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารต้องมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

ES (Expert Systems )หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการให้เหตุผลหรือให้คำแนะนำเพื่อช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ระบบผู้เชี่ยวชาญต้องสามารถแสดงถึงความเฉลียวฉลาด สรุปจากความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนต่างๆ ที่มีอยู่ และให้ความรู้ได้

แบบฝึกหัด
จงอธิบายความหมายดังต่อไปนี้
1. จงอธิบายความหมายของ MIS ว่าคืออะไร ?
2. จงอธิบายความหมายของ EIS หมายถึงอะไร?
3. จงอธิบายความหมายของ TPS หมายถึงอะไร?

จงตอบคำถามถูก/ผิดตามข้อดังต่อไปนี้
1. .....การทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการให้เหตุผลหรือให้คำแนะนำเพื่อช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ระบบผู้เชี่ยวชาญต้องสามารถแสดงถึงความเฉลียวฉลาด คือความหมายของ MIS
2. .....DSS คือ ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น
3. .....DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ไม่จัดหาแต่จัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น
4. .....ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์คือความหมายของ ES
5. .....ES หมายถึง การทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการให้เหตุผลหรือให้คำแนะนำเพื่อช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ระบบผู้เชี่ยวชาญต้องสามารถแสดงถึงความเฉลียวฉลาด

เฉลยแบบฝึกหัดอัตนัย 3 ข้อ

1. ตอบ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การมาเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อให้ผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของเขาให้มีประสิทธิภาพ
2. ตอบ EIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับ ผู้บริหารเนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ
3. ตอบ TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบโดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ

เฉลยแบบฝึกหัดถูก/ผิด 5 ข้อ
1. ผิด
2. ถูก
3. ผิด
4. ผิด
5. ถูก

13 มิถุนายน 2551

ตอบคำถามเรื่อง Wimax

Wimax คืออะไร
ตอบ คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไป
Wimax เกิดขึ้นเมื่อปีอะไร
ตอบ ในปี พศ. 2543
ปี พศ. 2546
ปี พศ.2547
ปี พศ.2548
ปี พศ.2549 จนถึงปัจจุบัน
มาตรฐานที่ใช้ คือ
ตอบ โครงสร้างพื้นฐานจะใช้มาตรฐาน IEEE 802.16
มาตรฐาน IEEE 802.16a
มาตรฐานIEEE 802.16e
มาตรฐาน IEEE 802.11
ใช้ความเร็วเท่าไร
ตอบ ความเร็วที่ใช้คือ 75 เมกกะบิตต่อวินาที
ใช้ความถี่เท่าไร
ตอบ ความถี่ที่ใช้ 5 GHz แต่ในเมืองไทยไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากความถี่ดังกล่าวถูกสงวนไว้ใช้ในทางราชการ จึงต้องเลี่ยงไปใช้ที่ 2.5 GHz แทน

07 มิถุนายน 2551

ตอบคำถามงานวิจัย

ทำไมจึงทำวิจัยเรื่องนี้ มีปัญหาอะไร ?
ตอบ
งานวิจัยเรื่อง ระบบประเมิน และวิเคราะห์ความเสี่ยงในด้านระบบสารสนเทศ สาเหตุที่ทำงานวิจัยเรื่องนี้ ทำเพื่อพัฒนาระบบประเมิน และวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการด้านสารสนเทศ เพราะปัญหาที่พบ คือ การบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ และการป้องกันข้อมูลเสียหายไม่ดีพอ
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ?
ตอบ
1.เพื่อพัฒนาระบบประเมิน และวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการด้านสารสนเทศ
2.เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนา
ประโยชน์ของงานวิจัย ?
ตอบ
1.ได้ระบบประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์ความเสี่ยงในด้านการจัดการด้านระบบสารสนเทศอิงตามมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล
2. สามารถที่จะประเมิลระดับความปลอดภัยขององค์กร และเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนในด้านการจัดการด้านระบบสารสนเทศ
ทฤษฎีที่ใช้ (สรุปทฤษฎี) ?
ตอบ

1. ข้อมูล และสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. การจัดการความปลอดภัยข้อมูล
4. กระบวนการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
5. มาตรฐานการรักษาความปลอดภัสข้อมูล
6. ระบบฐานข้อมูล
7. แผนภาพกระแสข้อมูล
8. ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มตัวอย่าง ?
ตอบ ผู้ใช้ระบบสารสนเทศก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบและหลังการพัฒนาระบบ
เครื่องมือที่ใช้?
ตอบ
เป็นแบบฟอร์มที่ใช้บันทึกผลการประเมินประสิทธิภาพด้านการทำงานของระบบตามความต้องการของผู้ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญ
สถิติที่ใช้?
ตอบ
การวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลางโดยวิธีการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต เช่น
x ขีดบา แทนค่าเฉลี่ยเลขคณิต
SD แทนค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
N แทนจำนวนข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัย ?
ตอบ

1. ผลการวิจัยระบบ
2. ผลประเมิลประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชียวชาญ
3. ผลประเมิลประสิทธิภาพของระบบโดยผู้ใช้งานระบบ

06 มิถุนายน 2551

แบบฝึกหัดบทที่ 2 ทฤษฏีและหลักการ 30 ข้อ

1.Wireless LAN (WLAN) หรือ ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบไหน ?
ก. อินฟราเรด และสัญญาณไมโครเวฟ
ข. อินฟราเรด และสัญญาณอินฟราเรด
ค. ไมโครเวฟ และสัญญาณอินเทรน
ง. อินทราเวฟ และสัญญาณไมโครเวฟ

2.ในปี ค.ศ.1864 ใครเป็นผู้สร้างทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ?
ก. จอร์น ฟรอร์น
ข. วิลเลี่ยม กูเกิร์ล
ค. เจมส์ เคิร์ก แม็กซ์เวลล์
ง. ปีเตอร์ เคิร์ก
3.คลื่นวิทยุ (Radio ) เป็นคลื่นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถเดินทางผ่านตัวกลางได้หลายชนิด แม้กระทั่งในสูญญากาศ การเดินทางของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีความเร็วเท่าไร ?
ก. 3 x 108 m/s
ข. 3 x 103 m/s
ค. 2 x 108 m/s
ง. 2 x 103 m/s
4.คลื่น UHF ( Ultra High Frequency เป็นคลื่นความถี่ที่ถูกนำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือและ Wireless LAN ใช้คลื่นในย่านความถี่เท่าไร ?
ก. 200-2000 MHz
ข. 300-3000 MHz
ค. 400-4000 MHz
ง. 500-5000 MHz
5. Wireless LAN ถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.อะไร
ก.ปีค.ศ. 1980
ข. ปีค.ศ. 1989
ค. ปีค.ศ. 1988
ง. ปีค.ศ. 1985
6.คลื่น VLF (Very Low Frequency ) เป็นคลื่นในย่านความถี่เท่าไร
ก. ความถี่ 3-30 KHz
ข. ความถี่ 4-40 KHz
ค. ความถี่ 5-50 KHz
ง. ความถี่ 2-20 KHz
7.คลื่น EHF (Extreme High Frequency) เป็นคลื่นในย่านความถี่เท่าไร
ก. ความถี่ 50-500 GHz
ข. ความถี่ 20-200 GHz
ค. ความถี่ 30-300 GHz
ง. ความถี่ 40-400 GHz
8.ย่านความถี่ที่ 900 MHz มีแถบความกว้างตั้งแต่เท่าไรถึงเท่าไร
ก. 1000 ถึง 1028 MHz
ข. 902 ถึง 928 MHz
ค. 900 ถึง 910 MHz
ง. 901 ถึง 930 MHz
9.ย่านความถี่ที่ 2.4 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่เท่าไรถึงเท่าไร
ก. 4.500 ถึง 4.5946 MHz
ข. 2.300 ถึง 2.3724 MHz
ค.2.400 ถึง 2.4835 MHz
ง. 1.300 ถึง 1.3724 MHz
10.ย่านความถี่ที่ 5 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่เท่าไรถึงเท่าไร
ก. 5.725 ถึง 5.850 MHz
ข. 6.223 ถึง 6.450 MHz
ค. 4.423 ถึง 4.450 MHz
ง. 3.733 ถึง 3.580 MHz
11.คลื่นอินฟราเรดที่ใช้ในเครือข่ายไร้สายจะใช้ความยาวคลื่นที่ 850-900 นาโนเมตร ใช้กลไกการส่ง 2 แบบคือ
ก. Direct ER และ Diffuse ER
ข. Direct IR และ Diffuse IR
ค. Direct TR และ Diffuse TR
ง. Direct IA และ Diffuse IA
12.มาตรฐาน IEEE 802.11 เริ่มประกาศใช้
ก. ปี 1997
ข.ปี 1998
ค. ปี 1999
ง. ปี 2000
13. มาตรฐาน IEEE 802.11a เริ่มประกาศใช้
ก. ปี 1998
ข.ปี 1999
ค. ปี 2000
ง. ปี 2001

14.ทฤษฏี Path Loss มีกี่แบบอะไรบ้าง
ก. มี 2 แบบ คือ แบบ Outdoor และ Indoor
ข. มี 3 แบบ คือ แบบ Outline , Inline และ OutInLine
ค. มีแบบเดียว คือ แบบ Onedoor
ง. มี 2 แบบ คือ แบบ Ondoor และIndoor

15. Watt คืออะไร
ก.หน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังคลื่น
ข.หน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังแม่เหล็ก
ค.หน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังไฟฟ้า
ง.หน่วยที่ใช้เรียนขนาดของกำลังความถี่
16. dB (Decibel) คืออะไร
ก.หน่วยวัดอัตราการเพิ่มน้อยหรืออัตราการเพิ่มมากของกำลังส่ง
ข.หน่วยวัดอัตราการลดทอนหรืออัตราการขยายของกำลังส่ง
ค.หน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังไฟฟ้า
ง.หน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
17. dBm (Decibel Milli) คืออะไร
ก.ค่ากำลังงานอ้างอิงกับระดับกำลังานที่ 0.002 W หรือ2 mW
ข.ค่ากำลังงานอ้างอิงกับระดับกำลังานที่ 0.05 W หรือ0.5mW
ค.ค่ากำลังงานอ้างอิงกับระดับกำลังานที่ 0.15 W หรือ0.15 mW
ง.ค่ากำลังงานอ้างอิงกับระดับกำลังานที่ 0.001 W หรือ1 mW
18. dBi (Decibel Isotropic) คืออะไร
ก.หน่วยวัดการเพิ่มกำลังขยายอัตราขยายที่เทียบจากสาย isotropic
ข.หน่วยของการวัดจากค่าตวง
ค.หน่วยที่เพิ่มขึ้นจากการตวง
ง.หน่วสยวัดการเพิ่มกำลังลดน้อยที่เทียบเท่าจากสาย isotropic
19. ISM ย่อมาจากอะไร
ก.Industrial Sciences Medicine
ข.Industroal Ser Medicine
ค.Inductrial Scienes Modle
ง.Inductrial Ser Modle
20.ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Infrastructure mode หรือ Client / Server เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า
ก.Hot sport
ข.Hot spot
ค.Hot spack
ง.Hot spacke
21. Basic Service Set (BSS) คืออะไร
ก.บริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN ที่มีสถานีแม่-ข่าย 1 สถานี
ข. บริเวณของเครือข่าย IEE 802.11 WLAN ที่มีสถานีแม่-ข่าย 1 สถานี
ค. บริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11a WLAN ที่มีสถานีแม่-ข่าย 1 สถานี
ง. บริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11g WLAN ที่มีสถานีแม่-ข่าย 1 สถานี
22. Extended Service Set (ESS) คืออะไร
ก. บริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11a WLAN ที่ประกอบด้วย BSS มากกว่า 1 BSS
ข. บริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11e WLAN ที่ประกอบด้วย BSS มากกว่า 1 BSS
ค.บริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN ที่ประกอบด้วย BSS มากกว่า 1 BSS
ง. ผิดทุกข้อ
23. PCI (Peripheral Component Interconnect Cards) เป็นการ์ดที่ไว้ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไหน
ก.โน๊ตบุ๊ก
ข.พีซี
ค. โน๊ตบุ๊ก และพีซี
ง. ถูกทุกข้อ
24. . Cardbus และ USB เป็นการ์ดที่ออกแบบมาให้ใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไหน
ก. พีซี
ข. โน๊ตบุ๊ก
ค. ข้อ ก ถูก
ง.พีซีและโน้ตบุ๊ก
25. Wireless Bridge คืออะไร
ก.สะพานเชื่อมโยงไร้สาย
ข. สะพานเชื่อมโยงคลื่น
ค. สะพานเชื่อมโยงสัญญาณ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
26.หน้าที่หลักของเสาอากาศคืออะไร
ก. การแปลงสัญญาณวิทยุไปเป็นไฟฟ้าเพื่อส่งออกอากาศ

ข. การแปลงสัญญาณแม่เหล็กไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ค. การแปลงสัญญาณวิทยุเพื่อออกอากาศไปยังภาคส่งคลื่นวิทยุ
ง.การแปลงสัญญาณวิทยุไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อส่งออกอากาศไปยังภาคส่งคลื่นวิทยุ
27.มาตรฐาน 802.11a รองรับอัตราความเร็วของการส่งข้อมูล เท่ากับเท่าไร
ก.6, 9,12, 18, 24, 36, 48
ข. 5,8,11,17,23,35,47
ค. 4,7,10,16,22,34,46
ง. 3,6,9,15,23,34,46
28. Shadowing มีอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
ก. Lognormate Fading
ข.Lognormal Fading
ค. Lognoration Fading
ง. ถูกทุกข้อ
29. Shadowing คืออะไร
ก.การลดทอนของสัญญาณเนื่องมาจากสิ่งกีดขวาง
ข. การเพิ่มของสัญญาณเนื่องมาจากสิ่งกีดขวาง
ค. การลดทอนของสัญญาณเนื่องมาจากสัญญาณรบกวน
ง. การเพิ่มของสัญญาณเนื่องมาจากไม่มีสัญญาณรบกวน
30. Refraction คืออะไร
ก. การหักเหของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข. การหักเหของคลื่นสัญญาณความถี่
ค.การหักเหของคลื่น
ง. ไม่มีข้อใดถูก

เฉลยแบบฝึกหัด
1. ก. 11.ข 21.ก
2. ค. 12.ก 22.ค
3. ก. 13.ข 23.ข
4. ข. 14.ก 24.ง

5. ก. 15.ค 25.ก
6. ก 16.ข 26.ง
7. ค 17.ง 27.ก
8. ข 18.ก 28.ข
9. ค 19.ก 29.ก
10. ก 20.ข 30.ค